แนวปฏิบัติที่ดีในการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยและงานวิชาการ

แนวปฏิบัติที่ดีในการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยและงานวิชาการ

ของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

จากการประชุมวันที่ 28 มีนาคม 2557 ณ ห้องประชุมปาริชาติ

………………………………….

 การประชุม KM ในเรื่องการเพิ่มผลผลิตงานวิชาการและงานวิจัยของวิทยาลัยฯนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาจากประสบการณ์ ของอาจารย์รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ ซึ่งได้เล่าถึงประสบการณ์การผลิตผลงานวิจัยจนได้รับรางวัลในการประชุมวิชาการระดับชาติ และจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของผู้เข้าร่วมประชุม แล้วสรุปแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ในการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยและงานวิชาการดังนี้

1.อาจารย์ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัย

2.ทำวิจัยในเรื่องที่ตนเองสนใจ และมีความถนัด

3.จัดสรรเวลาในการทำวิจัยให้เหมาะสม เช่น ช่วงเวลาที่มีการสอนภาคปฏิบัติ จะไม่มีเวลาสืบค้นข้อมูลก็จะใช้เวลานี้ในการเก็บข้อมูลวิจัย และส่วนใหญ่ต้องใช้นอกเวลาราชการในการทำวิจัย เป็นต้น

4.เมื่อมีปัญหาอุปสรรคในการทำวิจัยจะต้องมีที่ปรึกษา

5.อาจารย์ควรหาประสบการณ์จากเวทีการนำเสนอผลงานวิชาการ ซึ่งจะทำให้เกิดแนวคิดประเด็นใหม่ๆ ในการทำวิจัยและเป็นการพัฒนาตนเองในเรื่องการนำเสนอผลงานวิจัยให้น่าสนใจ และการตอบคำถามของกรรมการวิพากษ์ผลงานวิจัยให้ถูกต้อง ตรงประเด็น

6. อาจารย์ควรมีเครือข่ายความร่วมมือในการทำวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

default_wss

จาก: ดร. สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา

แนวปฏิบัติที่ดีในการสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยและงานวิชาการ

สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยและงานวิชาการ

ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

จากการประชุมวันที่ 28 มีนาคม 2557 ณ ห้องประชุมปาริชาติ

………………………………………………………………………………………………………

การประชุม KM ในเรื่องการเพิ่มผลผลิตงานวิชาการและงานวิจัยของวิทยาลัยฯนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเอกสาร 3 เรื่องของกลุ่มงานวิจัยได้แก่ 1) แนวทางในการผลิตผลงานวิชาการปี พ.ศ. 2556 – 2557 2) แนวปฏิบัติการทำวิจัย 3) (ร่าง) แนวทางการจัดสรรเงินสนับสนุนการเร่งผลิตผลงานวิชาการ และเอกสารสรุปการประชุม KM .ในวันที่ 13 ธันวาคม 2556 รวมทั้งประสบการณ์การผลิตผลงานของอาจารย์รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ ที่ประชุมสรุปแนวปฏิบัติที่ดีในการสนับสนุนของวิทยาลัยเพื่อให้อาจารย์เพิ่มผลผลิตงานวิจัยและงานวิชาการดังนี้

1.มีนโยบายและแนวทางการสนับสนุนอาจารย์ให้ผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษรทีมีการลงนาม
อนุมัติจากผู้อำนวยการ

2.กำหนดการสนับสนุนให้ชัดเจนโดยเฉพาะในเรื่องต่อไปนี้

2.1การสนับสนุนเวลา

การลาเพื่อผลิตงานวิจัย จำนวน 15 วัน / โครงการวิจัย

การลาเพื่อผลิตผลงานวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 2 วัน / โครงการวิจัย

การลาเพื่อผลิตตำรา จำนวน 15 วัน / โครงการวิจัย

การลาเพื่อเขียนบทความทางวิชาการจำนวน จำนวน 3 วัน / บทความ

2.2 การสนับสนุนงบประมาณ ควรระบุจำนวนงบประมาณให้ชัดเจนในเรื่องงบประมาณการผลิตผลงานวิจัย ตำรา รวมทั้งงบ    ประมาณที่สนับสนุนให้ไปนำเสนอผลงานวิขาการทั้งในและต่างประเทศ

3.การส่งเสริมให้อาจารย์ผลิตผลงานวิจัยวิทยาลัยควรเพิ่มด้านที่สนับสนุนในเรื่อง ด้านอื่นๆที่นักวิจัยสนใจหรือเชี่ยวชาญ (เดิมวิทยาลัย สนับสนุน 3 ด้านคือ ด้านโรคเรื้อรัง ด้าน pain ด้านการเรียนการสอน)

4.วิทยาลัยฯจัดหาแหล่งข้อมูล / ฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อให้อาจารย์สืบค้นข้อมูลได้ง่าย

5.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในเรื่องกระบวนการวิจัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการทำวิจัย และนักวิจัยได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

6.การพัฒนานักวิจัย ควรจัดให้เหมาะสมกับศักยภาพของกลุ่มอาจารย์ ซึ่งควรแตกต่างกันระหว่างนักวิจัยหน้าใหม่ และนักวิจัยที่มีประสบการณ์

7.ให้ความสำคัญกับการผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ โดยเพิ่มน้ำหนักในแบบประเมินความดีความชอบประจำปีของวิทยาลัยฯ

default_wss

จาก: ดร. สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา

การผลิตผลงานวิจัยให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนด

การผลิตผลงานวิจัยให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนด

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผลงานวิจัยล่าช้าคือผู้วิจัยหลังจากเก็บข้อมูลมาแล้ว ไม่มีเวลาที่จะวิเคราะห์ข้อมูลเนื่องจากมีภารกิจที่ต้องทำมากมาย นอกจากนี้การลงข้อมูลในโปรแกรม computer  เพื่อวิเคราะห์ต่อไปนั้นจะเป็นปัญหามากสำหรับนักวิจัยอาวุโส หรือผู้มีปัญหาทางสายตาหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลไม่สำเร็จตามกำหนดเวลา

       จากประสบการณ์การทำวิจัยของตนเอง จะไม่วิเคราะห์ข้อมูลเอง แต่จะขอให้นักสถิติช่วยวิเคราะห์ข้อมูลให้โดยการรวบรวมเครื่องมือวิจัยที่จะใช้วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด และทำตารางที่ต้องการแสดงผลการวิเคาระห์ในบทที่ 4ของรายงานวิจัย แล้วมอบทั้งหมดนี้ให้นักสถิติดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเติมตัวเลขผลการวิเคราะห์ลงในตารางที่กำหนดให้

 
            วันนี้ต้องการเสนอแนวคิดว่าอย่าเสียเวลาวิเคราะห์ข้อมูลเอง ถ้าท่านไม่พร้อม นักวิจัยต้องรู้เรื่องสถิติในงานวิจัยของตนเอง แต่ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลเอง

default_wss

                                                                  จาก: ดร. สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา

แนวปฏิบัติที่ทำให้การผลิตผลงานวิจัยสำเร็จภายในเวลาที่กำหนด

แนวปฏิบัติที่ทำให้การผลิตผลงานวิจัยสำเร็จภายในเวลาที่กำหนด  

จากประสบการณ์ในการทำงานวิจัยให้สำเร็จนั้น เริ่มต้นจากใจที่ต้องการรู้ผลของการศึกษาวิจัยเรื่องนั้น และเขียนรายงานวิจัยควบคู่ไปเลย เช่น เมื่อเขียนโครงร่างวิจัยแล้ว(บทที่ 1, 2, 3) ก็จะเขียนส่วนต้นของเล่มรายงานวิจัย ที่ประกอบไปด้วย ปกนอก ปกใน กิติกรรมประกาศ บทคัดย่อผลงานวิจัยซึ่งเขียนได้ในส่วนของวัตถุประสงค์ และวิธีดำเนินการวิจัย เว้นไว้เฉพาะส่วนของผลการวิจัย  สารบัญ บัญชีตาราง สำหรับบทที่ 4 จัดทำตารางแสดงการวิเคราะห์ข้อมูลเตรียมไว้ใส่ข้อมูล  บทที่  5 จะเขียนในส่วนที่เขียนได้ รวมทั้งส่วนของบรรณานุกรม ก็ทำได้เลยไม่ต้อรอให้ได้ผลการวิจัยแล้วจึงเขียนรายงานวิจัย

default_wss

ดร. สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา

แนวปฏิบัติการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยและผลงานวิชาการ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ จัดโครงการอบรมการจัดการความรู้ของบุคลากร เพื่อเป็นแนวคิดการพัฒนาผู้นำในองค์กร และการเรียนรู้ร่วมกัน  เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะ ประสบการณ์ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ในว้นที่ 13 ธันวาคม 2556 ณ ห้องประชุมพวงชมพู

โดยมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อหาแนวปฏิบัติในการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยและผลงานวิชาการ มีการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ออกเป็น 3 กลุ่ม และดร. สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา  ได้สังเคราะห์แนวปฏิบัติดังกล่าว ดังนี้

สรุปแนวปฏิบัติในการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยและผลงานวิชาการ

  1. มีนโยบายและแนวทางการสนับสนุนอาจารย์ให้ผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การสนับสนุนเวลา และการสนับสนุนงบประมาณ
  2. วิทยาลัยฯ จัดหาแหล่งข้อมูล / ฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อให้อาจารย์สืบค้นข้อมูลได้ง่าย โดยอาจให้บรรณารักษ์ ช่วยในการสืบค้นข้อมูล
  3. เพิ่มทีมที่ปรึกษางานวิจัยในแต่ละประเด็นของการวิจัย
  4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในเรื่องกระบวนการวิจัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการทำวิจัย และนักวิจัยได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  5. การพัฒนานักวิจัย ควรจัดให้เหมาะสมกับศักยภาพของกลุ่มอาจารย์ ซึ่งควรแตกต่างกันระหว่างนักวิจัยหน้าใหม่ และนักวิจัยที่มีประสบการณ์
  6. ให้ความสำคัญกับการผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ โดยเพิ่มน้ำหนักในแบบประเมินความดีความชอบประจำปีของ
    วิทยาลัยฯ
  7. ผู้รับผิดชอบงานวิจัย ปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด และรวดเร็ว โดยวิทยาลัยฯมีการวางระบบการกำกับติดตามการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางต่างๆ
  8. มีระบบการเบิกจ่ายงบประมาณที่เอื้อต่อการผลิตผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ เช่น การยืมเงินสำรองก่อนงานวิจัยเสร็จเป็นเล่ม หรือมีการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นระยะ
  9. มีระบบการบริหารจัดการเงินสนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกอย่างชัดเจนและคล่องตัวสำหรับผู้วิจัย
  10. ผู้รับผิดชอบงานวิจัย อำนวยความสะดวกแก่อาจารย์ในการหาเวทีวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ทราบอย่างทั่วถึง
  11. ผู้รับผิดชอบงานวิจัย จัดหา “คำแนะนำการทำนิพนธ์ต้นฉบับของทุกวารสารที่ สมศ. รับรองและประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ทราบ
  12. วิทยาลัยฯ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ/ ผลงานวิจัยในวารสารทั้งในและต่างประเทศ
  13. วิทยาลัยฯ ควรจัดทำวารสารให้ได้รับการรับรองจาก สมศ.
  14. วิทยาลัยฯควรจัดเวทีวิชาการระดับชาติ / นานาชาติ เพื่อรองรับการนำเสนอผลงานวิจัยและผลงานวิชาการต่าง ๆ
  15. ปรับระบบบริหารวิชาการให้เป็นการบริหารแบบภาควิชาซึ่งมีข้อดี คือ
    – อาจารย์ในภาควิชาสามารถช่วยกันนิเทศนักศึกษา เป็นไปได้ง่าย ทำให้อาจารย์มีเวลาทำวิจัยมากขึ้น
    – อาจารย์ในภาควิชาสามารถผลิตผลงานวิจัยในรายวิชาที่สาขารับผิดชอบ
    – เพิ่มความเชี่ยวชาญให้อาจารย์ในการทำวิจัยในภาควิชาที่ตนเองรับผิดชอบ

ขอขอบคุณ ดร. สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา สำหรับการสังเคราะห์ความรู้ เรื่อง แนวปฏิบัติในการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยและผลงานวิชาการของ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

default_picture119_(1) default_picture120 default_picture123